เป้าหมาย (Understanding Goal)

Week5

เป้าหมายรายสัปดาห์นักเรียนเข้าใจและสามารถสื่อสารและนำเสนอโดยการอธิบายลักษณะการแปลง  อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อ  ได้  และนักเรียนสามารถแก้ปัญหา บอกพิกัดของรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อบนระนาบพิกัดฉากได้  สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ โดยนำสมบัติเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อไปใช้ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome






5

8-12 ก.พ. 59


โจทย์
การแปลงทางเรขาคณิต
Key  Questions
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ
- ให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม กำหนดจุด A(3,0) จุดB(5,4)   และจุด C(-1,6) รูปจะเป็นอย่างไร
ให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม กำหนดจุด A(3,0) จุดB(5,4)   และจุด C(-1,6) รูปจะเป็นอย่างไร
- กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC มีจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) ให้วาดภาพรูปสามเหลี่ยม A’B’C’ ที่เกิดจากการเลื่อนขนานรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางซ้าย หน่วย และเลื่อนขึ้น หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
- กำหนดรูปสามเหลี่ยมABC ซึ่งมีจุด A(2,3) , B(7,1) และจุด C(5,5) ให้เขียนรูปรูปสามเหลี่ยม A’B’C’ ซึ่งเป็นรูปสะท้อนของรูปรูปสามเหลี่ยม ABC โดยมีแกนเป็นแกนสะท้อน รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าการแปลงทางเรขาคณิตเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันเราอย่างไร
เครื่องมือคิด
Show and Share
นำเสนอวิธีคิดเกี่ยวกับวิธีคิดการหาคำตอบการเลื่อนขนาน / การสะท้อน /การหมุน / การย่อ/ขยาย
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับชิ้นงานสรุปคณิต(ก่อนเรียน)   และความสำคัญของการเรียนรู้เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต
Wall Thinking ติดชิ้นงานความเข้าใจใบงาน / การ์ตูนช่อง / Mind mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน / การสะท้อน /การหมุน / การย่อ/ขยาย
- กระดาษกราฟ / สมุดกราฟ
- โปรแกรม GSP
เส้นเชือก / แผ่นไม้ / กระจก
ชง  ครูและนักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมเกี่ยวกับทบทวนการบ้านปิดเทอม Flip classroom การแปลงทางเรขาคณิต
- นักเรียนร่วมเล่าเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เรียนผ่านมา ครูยกตัวอย่างโจทย์เกมกิจกรรมเดิม
ทบทวนและเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจอะไรบ้างเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ?” (หลังจากครูให้นักเรียนทุกคนสืบค้นข้อมูลมาก่อนหน้านี้)
เชื่อม นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ
 - นักเรียนร่วมสอบถามความเข้าใจ นำเสนอเนื้อหาที่เพื่อนนำเสนอยังไม่ครบ เพิ่มเติมเต็มเนื้อหาของนักเรียนแต่ละคนที่แตกต่างกัน
ใช้ : ครูให้นักเรียนทุกคนสร้างชิ้นงานสรุปองค์ความรู้(ก่อนเรียน) เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตฯ
เชื่อม : นำเสนอชิ้นงาน ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องการแปลง
ชง : ครูทบทวนกิจกรรมเรื่องการสร้างกราฟ โดยครูนำกระดาษกราฟมาให้นักเรียนลองวาดภาพตาม
- ครูกำหนดโจทย์ปัญหาเรื่องกราฟให้นักเรียนลองกำหนดจุดลงในกระดาษตามคำตอบต่อไปนี้ “ให้นักเรียนสร้างรูปสามเหลี่ยม กำหนดจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) รูปจะเป็นอย่างไร?”

เชื่อม : ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
- นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน

การเลื่อนขนาน
ชง : ครูกำหนอโจทย์ปัญหาการคิดให้นักเรียน “ให้นักเรียนเลื่อนรูปสามเหลี่ยมABC ไปทางขาว หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”
 โจทย์..
ภาพจริง
เชื่อม : ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
- นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน
ใช้ : ครูให้โจทย์ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานแก้ปัญหาโจทย์ “กำหนดรูปสามเหลี่ยม ABC มีจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6) 

ให้วาดภาพรูปสามเหลี่ยม A’B’C’ ที่เกิดจากการเลื่อนขนานรูปสามเหลี่ยม ABC ไปทางซ้าย หน่วย และเลื่อนขึ้น หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”

การสะท้อน
 ชง : ครูกำหนอโจทย์ปัญหาการคิดให้นักเรียน “ให้เขียนจุด P’ ซึ่งเป็นจุดที่เกิดจากการสะท้อนของจุด ข้ามเส้นสะท้อน m จุดที่เกิดขึ้นจะปรากฏในตำแหน่งใด?”
 เชื่อม : ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
- นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน
ใช้ : ครูให้โจทย์ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานแก้ปัญหาโจทย์ “กำหนดรูปสามเหลี่ยมABC ซึ่งมีจุด A(2,3) , B(7,1) และจุด C(5,5) 

ให้เขียนรูปรูปสามเหลี่ยม A’B’C’ ซึ่งเป็นรูปสะท้อนของรูปรูปสามเหลี่ยม ABC โดยมีแกนเป็นแกนสะท้อน รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”

การหมุน
ชง : ครูกำหนอโจทย์ปัญหาการคิดให้นักเรียน “ให้นักเรียนเลื่อนรูปสามเหลี่ยมABC ไปทางขาว หน่วย รูปที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร?”

เชื่อม : ให้นักเรียนออกแบบชิ้นงานลงกระดาษกราฟของแต่ละคน เพื่อให้มองเห็นรูปร่างที่ได้สร้างขึ้นว่ามีรูปร่างอย่างไร
- นักเรียนแลกเปลี่ยนข้อมูลปรึกษาเพื่อนๆที่สร้างภาพจากความเข้าใจของแต่ละคน
- นำเสนอรูปที่แต่ละคนสร้างรูปสามเหลี่ยมลงในกระดาษกราฟที่ครูให้ไป และเพื่อนๆตรวจเช็คคำตอบของเพื่อนจากชิ้นงาน
ใช้ : ครูให้โจทย์ให้นักเรียนสร้างชิ้นงานแก้ปัญหาโจทย์ “กำหนดรูปสี่เหลี่ยม ABCD มีจุด A(3,0) จุดB(5,4) และจุด C(-1,6)  ?”


*ส่วนในเนื้อหาการย่อ / ขยาย
เกมการคิดทางคณิตฯ นักเรียนและคุณครูรวมเรียนรู้ผ่านกิจกรรม
GSP สร้างสรรค์ฝึกการสร้างรูปเรขาคณิตฯ

- ครูฝากคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าการแปลงทางเรขาคณิตเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวันเราอย่างไร?”
ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทบทวนกิจกรรมการเรียนรู้ เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตฯ (หาข้อมูลมาแลกเปลี่ยนจากช่วงปิดเทอม)
- นักเรียนนำเสนอความเข้าใจวิธีคิดที่นำเสนอต่อครูและเพื่อนๆ
- เรียนรู้การทำงานของโปรแกรมGSP และการเขียนรูปร่างลงในกระดาษกราฟ
- ทำชิ้นงานการ์ตูน/ใบงานเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน / การสะท้อน /การหมุน / การย่อ/ขยาย
- สรุปการเรียนรู้ในหน่วยการแปลงทางเรขาคณิต

ชิ้นงาน
- ใบงานเกี่ยวกับแปลงทางเรขาคณิต
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแปลงทางเรขาคณิต
- สร้างชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจ(นิทานช่อง, ชาร์ต, Mind mapping ฯลฯ)
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถสื่อสารและนำเสนอโดยการอธิบายลักษณะการแปลง  อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปต้นแบบและรูปที่ได้จากการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อ  ได้  และนักเรียนสามารถแก้ปัญหา บอกพิกัดของรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อบนระนาบพิกัดฉากได้  สามารถเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ โดยนำสมบัติเกี่ยวกับการเลื่อนขนาน  การสะท้อน  การหมุน  การขยายและการย่อไปใช้ได้
ทักษะ
ทักษะICT
นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการสร้างรูปเรขาคณิตจากการแปลงทางเรขาคณิต
ทักษะการสื่อสาร / การให้เหตุผล
การมีส่วนร่วมในการแสนอความคิดเห็น ในวิธีคิดที่แปลกใหม่ การอภิปรายเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต
ทักษะการคิดวิเคราะห์
นักเรียนสามารถคิดเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์จากการแปลงทางเรขาคณิตและถ่ายทอดความเข้าใจให้ผู้อื่นเข้าใจ
ทักษะการแก้ปัญหา
นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาโจทย์เกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น และสามารถสร้างโจทย์ให้ผู้อื่นฝึกคิดได้
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยออกแบบวิธีคิด ร่วมปรึกษาความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆ ช่วยเหลือกันและกันในการเรียนรู้ สร้างโจทย์ใหม่ให้ผู้อื่นฝึกทำละเข้าใจได้

คุณลักษณะ
สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ทำงานอย่างมีความประณีต
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน ทั้งงานกลุ่มและงานเดียว ทุกคนทำงานอย่างเต็มความสามารถ



ประมวลกิจกรรมการเรียนรู้
   ผู้เรียนยังคงสืบค้นหาข้อมูลมาวิเคราะห์การแปลงทางเรขาคณิตฯ มาร่วมกันจัดการชุดความรู้กันอย่างขะมักเขม้นเต็มที่ และทุกคนเกิดปีติสุขยิ่ง ยิ่งยากยิ่งท้าทายการจัดการชุดความรู้ที่เด็กๆ
กำลังได้เรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่างๆ ที่นักเรียนชั้น ม.1 
ได้ไปสืบค้นเพิ่มเติมFlip classroom
ค้นหาความหมายที่ซับซ้อนและสะท้อนความเข้าใจของผู้เรียนไนมิติต่างๆ ที่เกิดการเรียนรู้(ร่วม) เกิดสัมพันธ์ที่ดีในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ที่โจทย์ซับซ้อนยิ่งขึ้น มาร่วมแลกเปลี่ยนกันแต่ละคนๆ เพื่อให้เห็นเรื่องราวที่เชื่อมโยงกันและกัน เห็นแบบรู้ที่ซ้อนอยู่ทางคณิตฯ
การที่นักเรียนพยายามถ่ายทอดเรื่องราวความเข้าใจผ่านรูปแบบต่างๆ ที่ให้ผู้เรียนเกิดการรีเซ็คตัวเอง ตรวจสอบความเข้าใจๆ เพื่อจัดการองค์ความรู้ของตนเอง ถ่ายทอดให้ผู้รับเข้าใจได้ง่าย ก่อนท้ายชั่วโมงคุณครูได้ให้โจทย์แกผู้เรียนเกี่ยวกับGSP (ระดับอุดมศึกษา) เพื่อนำไปฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสถานการณ์การคิดที่ซับซ้อน แยบยลต่อกระบวนการต่างๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจในสัปดาห์นี้


...หากผู้เรียนเข้าใจถ่องแท้จริง ต้องสามารถสร้างโจทย์ของตนเองขึ้นมาได้...และถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจง่ายๆ .
.ต่อผู้อื่นที่อยากร่วมเรียนรู้..

1 ความคิดเห็น:

  1. ผู้เรียนยังคงสืบค้นหาข้อมูลมาวิเคราะห์การแปลงทางเรขาคณิตฯ มาร่วมกันจัดการชุดความรู้กันอย่างขะมักเขม้นเต็มที่ และทุกคนเกิดปีติสุขยิ่ง ยิ่งยากยิ่งท้าทายการจัดการชุดความรู้ที่เด็กๆ

    กำลังได้เรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่างๆ ที่นักเรียนชั้น ม.1 ได้ไปสืบค้นเพิ่มเติมFlip classroom

    ค้นหาความหมายที่ซับซ้อนและสะท้อนความเข้าใจของผู้เรียนไนมิติต่างๆ ที่เกิดการเรียนรู้(ร่วม) เกิดสัมพันธ์ที่ดีในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ที่โจทย์ซับซ้อนยิ่งขึ้น มาร่วมแลกเปลี่ยนกันแต่ละคนๆ เพื่อให้เห็นเรื่องราวที่เชื่อมโยงกันและกัน เห็นแบบรู้ที่ซ้อนอยู่ทางคณิตฯ การที่นักเรียนพยายามถ่ายทอดเรื่องราวความเข้าใจผ่านรูปแบบต่างๆ ที่ให้ผู้เรียนเกิดการรีเซ็คตัวเอง ตรวจสอบความเข้าใจๆ เพื่อจัดการองค์ความรู้ของตนเอง ถ่ายทอดให้ผู้รับเข้าใจได้ง่าย ก่อนท้ายชั่วโมงคุณครูได้ให้โจทย์แกผู้เรียนเกี่ยวกับGSP (ระดับอุดมศึกษา) เพื่อนำไปฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาสถานการณ์การคิดที่ซับซ้อน แยบยลต่อกระบวนการต่างๆ เพื่อเป็นการตรวจสอบความเข้าใจในสัปดาห์นี้

    ...หากผู้เรียนเข้าใจถ่องแท้จริง ต้องสามารถสร้างโจทย์ของตนเองขึ้นมาได้...และถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจง่ายๆ ..ต่อผู้อื่นที่อยากร่วมเรียนรู้..

    ตอบลบ